วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ปัญหาโลกร้อนและทฤษฎีความอลวน

เริ่มต้นจากหนังสารคดีที่ได้ดูในห้องเรียน ที่พูดถึง 7 เหตุการณ์ที่จะทำให้เกิดวันสิ้นโลก  ผมได้
ลองแยกโครงสร้างของสารคดีเรื่องนี้ออกมา เพื่อหาองค์ประกอบและหาจุดที่น่าสนใจที่จะนำเสนอ
โดยเหตุการณ์ที่พูดถึงในสารคดีทั้ง  7  จะเรียงตามลำดับจาก 1 - 7  (ในสารคดีจะเรียงจาก 7 -1 ) 

 1.ปัญหาโลกร้อน
2.โรคระบาด
3.สงครามนิวเครียร์
4.อุกาบาตชนโลก
5.ภูเขาไฟระเบิด
6.คอมพิวเตอร์ครองโลก
7.การเกิด BIGBANG (เกิดรังสี gamma ray และ black hole )

ซึ่งผมได้แยกเหตุการณ์ออกมาเป็นหัวข้อต่างๆ ได้แก่

ภัยธรรมชาติ 3  :  ภัยจากมนุษย์  4  
เกิดขึ้นในอนาคต  3  :  เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน 4
เกิดขึ้นภายในโลก  5  :  เกิดจากภายนอก (จักรวาล)  2
ยังมีสิ่งมีชีวิต 6 :  ไม่มีสิ่งมีชีวิต  1

เมื่อแยกองค์ประกอบของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้ผมได้ข้อสรุปว่า
" การที่จะเกิดเหตุการณ์วันสิ้นโลกนั้นมันมีสาเหตุมาจากมนุษย์เป้นส่วนใหญ่ "
 และสาเหตุที่มาเป้นอันดับที่ 1  ก็น่าจะเป้นเรื่องที่สารคดีต้องการจะสื่อสารมากที่สุด 
ก็คือเรื่อง  " โลกร้อน "  

ปัญหาโลกร้อนในทุกวันนี้ก็เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่ามีสาเหตุหลักมาจากมนุษย์   ซึ่งผมได้
ตั้งข้อสังเกตสาเหตุเกิดขึ้นเพราะการที่มนุษย์ทำกิจกรรมพร้อมๆกัน ทำให้มีผลกระทบ
ที่ทำให้โลกร้อนขึ้น  ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีความอลวน ( Chaos theory ) ซึ่งพูดถึงระบบ
ที่ส่งผลกระทบซึ่งกันและกันและเกิด ทำให้เกิดความร้อนจากภายใน  
พฤติกรรมการบริโภคนิยมของมนุษย์ส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง
โดย กลุ่มนักบริโภคนิยมจะถูกกระตุ้นการบริโภคที่ไม่จำเป็นด้วยการ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในด้าน
การโฆษณา และการยึดติดกับแบรนด์ของสินค้า ซึ่งในฐานะนักออกแบบแล้วการสร้างแบรนด์
ก็เป็นสิ่งที่ตรงกับสายอาชีพ และก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดระบบการบริโภคนิยมขึ้นมา  
ซึ่งส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อโลก ที่กำลังเกิดปัญหาในทุกวันนี้

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551

THE HULK vs THE INCREDIBLE HULK


วันนี้บังเอิญเดินผ่านไปตรงโรงหนังสกาลา  
ก็เห็นป้ายว่าหนัง THE INCREDIBLE HULK เข้าฉายแล้ว 
เกิดอารมณ์อยากดูขึ้นมากระทันหันเพราะเคยอ่านบทความเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้มาก่อน  ว่าเป็นหนังที่ทำขึ้นมาใหม่เพื่อแก้ไขจากเรื่องเดิม ที่เคยสร้างมาก่อนหน้านี้   ว่ามีเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์มากเกินไป  ตอนใหม่นี้จึงตัดเรื่องราวทางวิทยาศาตร์ออกไปเพื่อเหตุผลที่ว่าจะทำให้ดูแล้วเข้าใจง่ายและมีความมันส์มากกว่าตอนก่อนหน้านี้   และหลังจากที่ผมได้ใช้เวลา 2 ชั่วโมงกว่าๆในโรงหนังแล้วออกมาพร้อมกับความมึนงง   ก็มีความเห็นสรุปโดยส่วนตัวว่ามันก็จริงดังที่บทความว่าเอาไว้   เพราะในตอนนี้ไม่มีการมาอธิบายถึงความเป็นมาของมนุษย์ตัวเขียวซักเท่าไหร่  แต่จะเน้นไปทางฉากบู๊ล้างผลาญที่ดูแล้วบางทีก็งงๆ ว่าตัวไหนคือไอ้ตัวเขียว  ตัวไหนคือไอ้สัตว์ประหลาด   พร้อมทั้งมีข้อมูลแปลกๆวิ่งขึ้นมาเป็นครั้งคราวว่า   " ไม่ได้เกิดเรื่องมาแล้ว กี่วัน "   ก็ไม่รู้เหตุผลว่าทำขึ้นมาเพื่อใช้กับตอนจบของหนังอย่างเดียวหรือเปล่า   แต่ก็ถือว่าทำออกมาได้สมความตั้งใจที่จะให้มีฉากแอ๊คชั่นมากขึ้นจริงๆ แม้เรื่องการดำเนินเรื่องออกจะขาดเหตุผลไปบ้าง ก็ถือซะว่าดูเอามันอย่างเดียวละกันครับเรื่องนี้





วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551

มุมทางสังคม : มุมทางการออกแบบ

วันที่สองของการเปิดเทอม กับวิชา communication design 5  
โดยโจทย์ในเทอมนี้ เริ่มจากการให้ดูสารคดีเกี่ยวกับปัญหาทางสังคม  3 เรื่อง 
โดยมีเรื่องประเด็นของการประท้วงห้างสรรพสินค้าที่มีมากในชุมชน ที่ทำให้เกิดทั้งผลดีและไม่ดี  เรื่องที่สองเป็นเรื่องของการใช้พลังงานทางเลือก  ที่พยายามคิดค้นรถยนต์ที่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าฟ้าในการขับเคลื่อนได้  และเรื่องสุดท้าย คือ 7 ปรากฏการณ์ที่จะทำให้เกิดวันสิ้นโลก   โดยจะลำดับปรากฏการณ์ตามความน่าจะเป็นของปรากฏการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเกิด black hole ,  อุกาบาตชนโลก, ภูเขาไฟระเบิด และปรากฏการณ์ที่เป็นลำดับหนึ่งก็คือ global warming หรือ โลกร้อนที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน    

และห้อง 4421 ก็ได้รับโจทย์ของการออกแบบจากเรื่องที่ 3 คือ  
" 7 ปรากฏการณ์ที่จะทำให้เกิดวันสิ้นโลก "
และผู้ที่เลือกโจทย์ให้ในครั้งนี้คือ อ.อนุทิน และ อ.สันติ  ที่ทำหน้าที่เป็นผู้สอนวิชานี้ในเทอมนี้  ก็ได้มีการพูดคุยถึงโจทย์ในครั้งนี้ โดยพูดถึงมุมมองทางสังคม และมุมมองของการออกแบบ ว่าแตกต่างกันอย่างไร   โดยผมเองก็ได้ตอบว่า   " มุมมองทางสังคม คือ การที่เราเอาตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม  ส่วนมุมมองทางการออกแบบคือการนำเอาข้อมูลที่มีอยู่มาทำใหม่เพื่อที่จะสื่อสารกับผู้อื่น " แต่หลังจากได้ฟังคำอธิบายจากอาจารย์แล้ว  ก็มีความเข้าใจใหม่ว่า มุมมองทางการออกแบบนั้นคือการที่เราที่เป็นนักออกแบบ จะต้องวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่และจับประเด็นเพื่อนำมาการออกแบบเพื่อสื่อสารกับผู้คนทั่วไป    

โดยผมเองคิดว่าการเรียนวันแรกของวิชานี้้ได้ตอบคำถามของตัวผมในเวลานี้ว่า " การเป็นนักออกแบบนั้น แตกต่างจากคนที่ ใช้โปรแกรมของการทำงานออกแบบได้ตรงไหน " และวันนี้ผมเริ่มที่จะมีคำตอบให้กับตัวเองแล้ว