วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ปรับตัวเข้ากับธรรมชาติของสื่อ

คัคลอกจากบล๊อคของ อ.อนุทิน วงศ์สรรคกร
นิรุติ กรุสวนสมบัติ
กรกฎาคม ๒๕๕๑

สรุปบทสนทนาและใจความบางส่วนของ อนุทิน วงศ์สรรคกร และ นิรุติ กรุสวนสมบัติ สองผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มพฤติกรรมการออกแบบ เกี่ยวกับการทำความเข้าใจ และปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติของสื่อ บันทึกจากการบรรยายพิเศษที่ บริษัท อมรินทร์ แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด มหาชน วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ บทสรุปนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบรรยายกึ่งสนทนาร่วม ๓ ชั่วโมง ซึ่งกินความถึงภาคของเทรนด์(เปลือก)ทางการออกแบบซึ่งได้ถูกละออกไปจากบทสรุปนี้ 

เมื่อพูดถึงสื่อที่อิงเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างอินเทอร์เน็ต

-----» ในขณะที่จำนวนผู้ใช้และความใกล้ชิดกับสังคมออนไลน์ มีแนวโน้มสูงมากขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว อัตตราการมีส่วนร่วม เป็นตัวเลขที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง การเข้าถึงอุปกรณ์มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากต่อทักษะและการปรับตัวเพื่อรับสื่อสมัยใหม่ เนื่องด้วยอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ต้องใช้ความรู้ทางอุปกรณ์เข้ามามากกว่า สื่อที่เกี่ยวเนื่องกับการพิมพ์ (Primitive Media) ฉะนั้นนอกจากทักษะการรับและเข้าถึงแล้ว การสร้างฐานข้อมูลของสื่อก็ต้องถูกพัฒนาตามกัน เช่นทักษะของการสร้างเวปไซท์ และระบบนำทาง (Navigation) การจัดการลำดับของเนื้อหาให้เป็นไปตามธรรมชาติที่เกิดใหม่ 

การเสพสื่อที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงเป็นอีกอุปสรรคหลักของของพัฒนาการทางด้านเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต เกิดซ้ำซ้อนบนปัญหาการขาดแคลนเนื้อหาที่ยังไม่ได้รับการสนองเท่าที่ควรอยู่ก่อนหน้าแล้วในสื่อหมวดสิ่งพิมพ์ ปัญหาคุณภาพของเนื้อหานี้เอง ทำให้เวบไซท์ของประเทศไทยอุดมไปด้วยเว็บบอร์ด และการออกความคิดเห็นด้วยอารมณ์มากกว่าการแสดงความคิดเห็นเชิงวิภาค และเชิงวิชาการที่สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเพื่อการค้นคว้า เนื้อหาในลักษณะเชิงข้อมูล (Content based website)กลับมีผู้สร้างน้อยมาก เพราะเป็นผลพวงต่อเนื่องมาจากการสร้างเนื้อหา และการสร้างบุคลากรเพื่อผลิตเนื้อหา ในยุคของสื่อสิ่งพิมพ์จึงยังคงวนเวียนอยู่และสะท้อนปัญหาเดิม 

ลักษณะนิสัยของการใช้สื่อและทักษะการสื่อสาร

-----» การที่สังคมการสื่อสารไทยไม่ได้เติบโตจากเนื้อในออกมาสู่วิธีการจัดการภายนอก แต่เป็นการคัดลองวิธีการสื่อสารโดยมีรูปแบบสื่อ (เทคโนโลยี) เป็นตัวกำกับ การสื่อสารในภาพที่เห็นกันจึงเป็นเพียงแค่รูปแบบของการสื่อสาร โดยที่คุณภาพของสารที่ผ่านมาในสื่อนั้นมีมวลที่เบาบาง 

เห็นได้ว่าเราสามารถซื้อหาเทคโนโลยีการสื่อสารเท่าเคียงกับนานาประเทศ แต่ทักษะการสื่อสารเป็นตัวเชื่อมสู่คลังข้อมูลที่ต้องการ และกลับมีพัฒนาการที่ความเร็วต่างกันมาก การโตด้วยรูปลักษณ์ของการสื่อสารไม่เพียงพอในการปรับตัวให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว

ลักษณะการเสพสื่อที่เปลี่ยนไป

-----» พฤติกรรมการเสพสื่อแบบผิวๆ (ในการบรรยายใช้คำว่า ‘จิบ’ ข้อมูล ) เกิดขึ้นเพราะมีช่องทางให้เรื่องต่างๆ(ที่อาจจะพอจะอยู่ในความสนใจเพียงแค่เล็กน้อยในช่วงเวลาหนึ่ง) เข้าถึงเราได้เร็วและง่ายขึ้น เราสามารถรับรู้หลายลักษณะข่าวในเวลาเดียวกัน สังเกตุได้จากการสลับหมวดไปมาของประเภทข้อมูลที่เราสามารถเลือกเสพผ่านจอคอมพิวเตอร์ ทำให้เวลาในการรับข้อมูลจากสื่อสั้นลงจนทำให้เกิดธรรมชาติใหม่ 

การสื่อสารแบบฉับพลัน และการที่เราได้รับการสนองในรูปแบบที่ซับซ้อน เชื่อมโยงมากขึ้น (multi) นี่เองทำให้เกิดผลกระทบในเชิงที่ผู้ใช้รู้ไม่เท่าทันธรรมชาติของสื่อ มีเวลาได้คิดเชิงปะทะกับข้อมูลไม่เพียงพอ ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือที่เรียกว่าไม่เท่าทันข้อมูล (อ่านบทความ นี่คือ“ข้อมูล” ประกอบ) ตัวอย่างที่พบเห็นได้ในปัจจุบันขณะคือปัญหาทางสังคม(ปัญหาเดิมที่มีอยู่แล้ว)ยิ่งสามารถก่อเหตุเร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้เท่าเทียมกับธรรมชาติใหม่ของตัวนำสาร เมื่อเกิดสำลักการเปลี่ยนแปลงของธรมชาติการรับข้อมูล ความรู้ไม่เท่าทันบวกกับโครงสร้างทางสังคมที่ปลูกขึ้นอย่างหละหลวมด้วยเปลือกของวัฒนะธรรมจากหลายถิ่น ทำให้โอกาสการเกิดปัญหาสังคมมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นไปได้สูง 

ชี้ให้เห็นการปรับตัวของเนื้อหาที่มีผลต่อการอยู่รอดของสื่อสิ่งพิมพ์ (นิตยสาร)

-----» ในหมวดของสื่อสิ่งพิมพ์เองเมื่อมีปัญหาสามัญ อย่างเรื่องของคุณภาพของเนื้อเรื่องและกายภาพของเนื้อเรื่องไม่สอดคล้องหรือเอื้ออำนวยกับการออกแบบ เนื้อหาเชิงวิภาคที่เข้มข้นมีน้อย นิตยสารในกลุ่มของเรื่องเบาสมองหรือที่บางคนจำกัดความว่าไร้สาระนั้นมีเยอะ จนกลายเป็นมาตรฐานและความคาดหวังจากผู้อ่าน การมีมากของกลุ่มนิตยสารลักษณะนี้ สะท้อนสภาพสังคมได้ดีในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันก็เป็นการชี้ให้เห็นว่าเนื้อหาแบบสาระและเนื้อหาแบบอ่านทิ้งขว้างต้องมีกลุ่มที่ชัดเจน การปรับตัวเพื่อหนีการจัดระเบียบของเนื้อหาใหม่ หลังจากเนื้อหาลักษณะเล่นๆ เสพแล้วทิ้งทั่วไป กำลังทะยอยย้ายตนเองไปบนสื่อออนไลน์แทน

เนื้อหาแบบที่ต้องการความรวดเร็วมีแนวโน้มที่จะหมดไปจากแผงหนังสือ เช่นข้อมูลประเภทที่เรียกติดปากว่า“อัพเดท” เพราะเป็นสิ่งที่สื่อสิ่งพิมพ์ไม่สามารถให้ได้อีกต่อไป สังเกตุได้จากการลดลงของหนังสือพิมพ์ และแทนที่ด้วยพฤติกรรมการรับสารจากช่องทางอื่นๆ ถึงกระนั้นในประเทศไทยยอดพิมพ์หนังสือพิมพ์ยังไม่ได้ลดลง หากแต่มีแนวโน้มว่าจะมียอดคืนสูงขึ้น เพราะบางส่วนปรับเข้าหาการบริโภคข่าวทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่วนมากกระทำไปพร้อมๆกับกิจกรรมอื่นๆเช่นการเช็คอีเมลล์ 

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคือการลดลงของการส่งจดหมาย ที่ส่วนใหญ่จะเหลือแต่การส่งวัสดุหรือสิ่งตีพิมพ์ที่มีความจำเป็นเท่านั้น โดยที่จดหมายหรือโฆษณาแคตตาล็อก (พร้อมลิ้งค์นำไปสู่เวปไซท์) และเรื่องทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการพิมพ์บนกระดาษจะถูกแทนที่ด้วยอีเมลและเอกสารอิเล็คทรอนิค นี่คือโครงสร้างใหม่ของการสื่อสารที่กำลังหยั่งรากลงไปหามาตรฐานใหม่

เราจะเห็นได้ว่านิตยสารไลฟสไตล์ร่วมสมัย ในลักษณะต่างๆ(โมเดินท์ไลฟ์สไตล์) มีมากขึ้น และเริ่มผนวกการออกแบบและการใช้ชีวิตเข้าด้วยกัน เพราะนิตยสารมีราคาสูงขึ้นการเลือกซื้อนิตยสารสักฉบับ จึงต้องเป็นนิตยสารที่ค่อนข้างครอบคลุมความสนใจที่กว้างขึ้น หรือเป็นลักษณะเนื้อหาที่เฉพาะกลุ่ม ที่มีความเหนียวแน่น ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่าแนวโน้มของนิตยสารหรือหนังสือเองก็ตาม ก็จะเดินทางไปสู่ความเป็นพรีเมียมมากขึ้น เพราะเนื้อหาที่อยู่บนความเร็ว (ภาษากองบรรณาธิการมักเรียกว่า“ของสด”) จะเป็นกลุ่มแรกที่จะถูกถ่ายเปลี่ยนไปบนมีเดียใหม่ 

เราควรถามตนเองว่าพร้อมหรือยังในการเดินทางไปสู่จุดนั้น? การมีเวบเอดิชั่นของนิตยสาร จะไม่ได้เป็นเพียงการมีเพื่อความโก้เก๋ หรือเพื่อให้ไม่ล้าสมัยอีกต่อไป และควรที่จะต้องมองให้เป็นเชิงธุรกิจที่สอดคล้องกันในสองระบบสื่อ สิ่งที่น่าจะได้เห็นในเวลาอันไม่ไกลจากนี้ก็คือการที่นิตยสารต้องปรับให้มีการพิมพ์ที่น้อยลง และต้องเสริมด้วยเวปเอดิชั่น ตัวหนังสือหรือนิตยสารที่พิมพ์จริงจะต้องมีความพิเศษมากพอที่จะต้องซื้อเก็บ 

การปรับตัวครั้งนี้ก็จะเป็นตัวกำหนดว่านิตยสารประเภทใดจะอยู่หรือจะไป ลักชวลลี่ไอเทม หรือสินค้าฟุ่มเฟือย ยังคงจะได้รับความนิยมในสื่อสิ่งพิมพ์ต่อไปเพราะมีส่วนสนับสนุนความเป็นพรีเมี่ยมของนิตยสารกระดาษ ที่มีมากกว่าอีแมกกาซีน ซึ่งยังคลุมเคลือว่าการยืมจริตของนิตยสารกระดาษมาบนสื่อที่ควรใช้วิธีเข้าถึงข้อมูลที่แตกต่างออกไป เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติและข้อเด่นของสื่อชนิดที่มีการตอบโต้ จะเป็นที่นิยมจนเป็นสื่อมาตรฐานในเชิงธุรกิจได้หรือไม่ ยังคงไม่มีข้อสรุปที่เป็นผลบวก เพราะอาจจะเหมาะสมกับธุรกิจเพียงบางประเภทเท่านั้น

WALL-E & EVE


" วอลลล อี " เป็นเสียงที่ได้ยินบ่อยครั้งในหนังเรื่องนี้  ความน่ารักของเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ สามารถเรียกรอยยิ้ม
ได้ตลอดทั้งเรื่อง  จากการที่เป็นหุ่นยนต์ที่อยู่เพียงตัวเดียวบนโลก (มีแมลงสาบเป็นเพื่อน 1 ตัว )  และได้ศึกษา
วัฒนธรรมของมนุษย์จากสิ่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในโลก  ที่มนุษย์ได้ทิ้งเอาไว้หลังจากได้ทำการอพยพขึ้นยาน
อวกาศเพื่อหนีจากสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ ที่ตนเองได้ทำเอาไว้    และหนุ่นยนต์สำรวจ " อีฟ " ได้ถูกส่งมาค้นหา
สิ่งมีชีวิตบนโลกใบเดิม (ต้นไม้)  เพื่อเป็นเครื่องยืนยันให้มนุษย์ที่อยู่บนยานสามารถกลับมาดำรงชีวิตบนโลก
ได้อีกครั้ง

ซึ่งตัวหนังนั้นดำเนินเรื่องได้อย่างน่ารักและน่าติดตาม ดูแล้วทำให้รู้สึกว่าอยากปลูกต้นไม้ขึ้นมาทันที 
(ความรู้สึกชั่วขณะ)และในตอนจบที่ป็นส่วนของรายชื่อเครดิต  ได้มีโมชั่นการฟฟิกเรื่องราวหลังจากที่
มนุษย์ได้กลับมาอยู่บนโลกอีกครั้งแล้วทำการเพาะปลูกพืชขึ้นมาใหม่และเริ่มทำการสร้างสิ่งก่อสร้าง 
เหมือนกับว่ามนุษย์ได้ย้อนกลับไปสู่วิถีการดำเนินชีวิตในอดีต  ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วมองว่าการที่มนุษย์กลับ
มาที่  "  โลก " อีกครั้ง (ในหนังใช้คำเรียกว่า บ้าน )  เป็นการกลับมารุกราน โลกใบเดิมอีกครั้ง หลังจากที่ได้
ทำลายสภาพแวเล้อมจนหมดสิ้นไปแล้ว  และเมื่อถึงวันหนึ่งที่โลกจะปรับสภาพให้ดีขึ้น มนุษย์ก็จะถือโอกาส
กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อีกครั้ง  

ผมมีความคิดว่าจริงๆแล้วตอนจบ  " มนุษย์ควรจะได้กลับมายังโลกอีกดีรึเปล่า ? "




วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

รถเมล์พลังประชาชน

ในช่วงนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในระบบของ ขสมก. ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลบอกว่าทำเพื่อช่วยเหลือประชาชนคือการที่ให้ประชาชนใช้รถโดยสารประจำทางของขสมก. โดยไม่เสียค่าโดยสาร ซึ่งตัวผมเองก็ได้ใช้บริการแล้ว  โดยส่วนตัวรู้สึกถึงการแสดงออกของพนักงานเก็บค่าโดยสารที่ต่างไปจากเดิม โดยจะออกคำสั่งกับผู้โดยสารมากขึ้นกว่าเดิม  ซึ่งอาจจะเป็นเพราะสถานการณ์เช่นนี้ที่จำนวนผู้โดยสารมีจำนวนมากขึ้นจึงต้องมีการจัดการพื้นที่เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการได้อย่างพอเพียง  อย่างไรก็ตามในส่วนของเรื่องการบริการนั้นเป็นเรื่องรายละเอียดเล็กน้อยของการใช้รถประจำทางของผมแต่เรื่องที่ผมเห็นแล้วรู้สึกถึงความผิดปกติอย่างชัดเจน ก็คือ ป้ายประกาศที่ติดอยู่ที่ด้านนอกของตัวรถ ซึ่งผมในฐานะที่เป็น นักศึกษาวิชาการออกแบบการสื่อสารนั้น รู้สึกถึงการที่มีการนำเอาเครื่องมือทางการสื่อสารมาใช้แฝงเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ได้อย่างแนบเนียนและเป็นธรรมชาติ  โดยประชาชนที่ไม่ทันได้สังเกตก็จะได้รับสารนั้นเข้าไปโดยไม่ได้พิจารณา และก็เข้าใจว่ารัฐบาลกำลังช่วยเหลือประชาชน  แต่แท้ที่จริงแล้วมันมีการแฝงไปด้วยการโฆษณาหาเสียงของรัฐบาล  โดยใช้นโยบายนี้เพื่อที่จะได้นำเงินภาษีของประชาชนมาใช้หาเสียงให้กับตนเองได้อย่างแนบเนียนและดูเป็นประโยชน์กับประชาชนโดยส่วนรวม