วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

TRI-Z studio


























































เริ่มทำงานกับที่ออฟฟิศ TRI-Z ได้สองเดือนกว่า ได้ลองทำนิตยสาร ( IN LOVE magazine )
และตอนนี้มีงานของMiss Teen Thailand เลยได้ลองฝึกรีทัชภาพ และคงได้รีทัชอีกอีกหลาย
ภาพต่อจากนี้

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2552

โครงการออกแบบชุดฟอนต์รูปภาพ โดยมีที่มาจากวรรณกรรมไทยที่ได้รับรางวัลซีไรต์

ที่มาของโครงการ
      จากการที่มีความสนใจในภาพประกอบยุคเก่า  และต้องการจะเก็บรวบรวมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์
ในการทำงานออกแบบ  จึงคิดหาวิธีที่จะเก็บรวบรวมภาพประกอบยุคเก่า  โดยที่จะสามารถนำมาใช้
ทำงานออกแบบได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  โดยใช้วีธีเลือกองค์ประกอบต่างๆ  จากหนังสือ
วรรณกรรมไทยที่ได้รับรางวัลซีไรต์ จำนวน 10 เรื่อง 10 นักเขียน   เพื่อเป็นขอบเขตในการกำหนด
แนวทางในการรวบรวมภาพ  เพื่อนำมาทำเป็นชุดฟอนต์รูปภาพ

วัตถุประสงค์ของโครงการ
     เพื่อเก็บรวบรวมภาพประกอบยุคเก่า และสร้างวัตถุดิบเพื่อใช้ในการทำงานออกแบบ  
เพื่อที่นักออกแบบจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้สร้างงานออกแบบต่างๆ ได้




















รายชื่อวรรณกรรมและนักเขียนทั้ง  10 เล่ม

1.ลูกอีสาน คำพูน บุญทวี

2.ขุนทอง..เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง อัศศิริ ธรรมโชติ

3.คำพิพากษา ชาติ กอบจิตติ

4.ซอยเดียวกัน วาณิช จรุงกิจอนันต์

5.ก่อกองทราย ไพฑูรย์ ธัญญา

6.ตลิ่งสูงซุงหนัก นิคม รายยวา

7.เจ้าจันท์ผมหอม มาลา คำจันทร์

8.ครอบครัวกลางถนน ศิลา โคมฉาย

9.ความน่าจะเป็น ปราบดา หยุ่น

10.ความสุขของกะทิ งามพรรณ เวชชาชีวะ


 หลังจากที่อ่านหนังสือทั้ง 10 เรื่องแล้ว  ก็ได้ทำการคัดแยกส่ิงที่ปรากฏอยู่ในหนังสือแต่ละเรื่อง

ออกมาจนครบทั้งหมด และทำการจัดกลุ่มและจับคู่ของสิ่งที่ปรากฏขึ้นบ่อยในวรรณกรรมไทย

เพื่อให้ได้ไอคอนของความเป็นไทย  ที่ถูกใช้กันมากในวรรณกรรม


























































































 








หลังจากนั้นได้ทำการคัดเลือกลัญลักษณ์ที่พบมากที่สุด  ในวรรณกรรมทั้ง 10 เรื่อง

เป็นจำนวน 100 ตัว เพื่อนำไปเป็นตัวกำหนดในการทำชุดอักษรภาพ   









 



หลังจากนั้นก็ได้ทำการหาภาพ เพื่อที่จะนำมาทำการวาดใหม่ด้วยกระดาษไข และ

นำภาพที่ได้ไปสแกนลงในคอมพิวเตอร์ และนำไปวาดด้วยโปรแกรม illustrator  















































ตัวอย่างภาพที่นำมาวาดใหม่


















































ชุดอักษรภาพในแบบร่างครั้งที่ 1












ชุดอักษรภาพที่แก้ไขเสร็จสมบูรณ์











หลังจากที่ได้ชุดอักษรภาพมาครบทั้ง 100 แล้ว  จึงได้นำมา

ออกแบบเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ  ที่เชื่อมโยงกับที่มาของชุดอักษรภาพ

ได้แก่ ปกหนังสือ , ที่คั่นหนังสือ , โปสการ์ด , และโปสเตอร์